http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
http://www.seal2thai.org พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มี ความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน และการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผลและต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนา ความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html Gardner (1993) พบว่า ความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8 ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดารงชีวิตด้วย และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสมองส่วนต่างๆ เป็นตัวควบคุม เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทาลาย ความสามารถทางด้านนั้นจะบกพร่องไป และเมื่อความสามารถด้านพัฒนาสูงสุดจะทาให้เกิดความภาคภูมิใจ มีผลทาให้อยากจะพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ที่ยังบกพร่องให้พัฒนาเพิ่มขึ้นมาอีก
http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html Gardner (1993) พบว่า ความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8 ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดารงชีวิตด้วย และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสมองส่วนต่างๆ เป็นตัวควบคุม เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทาลาย ความสามารถทางด้านนั้นจะบกพร่องไป และเมื่อความสามารถด้านพัฒนาสูงสุดจะทาให้เกิดความภาคภูมิใจ มีผลทาให้อยากจะพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ที่ยังบกพร่องให้พัฒนาเพิ่มขึ้นมาอีก
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์ ซึ่งได้แบ่งเชาวน์ปัญญา หรือสติปัญญาของบุคคล ออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้
1. การสังเกต
2. การวัด
3. จำแนกประเภท
4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่กับเวลา
5. การใช้ตัวเลข
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. การลงความเห็นจากข้อมูล
8. การพยากรณ์
2. การวัด
3. จำแนกประเภท
4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่กับเวลา
5. การใช้ตัวเลข
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. การลงความเห็นจากข้อมูล
8. การพยากรณ์
สรุป
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้านให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเองและเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่นรวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้านและในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆการประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
ที่มาhttp://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htmเข้าถึงเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2554
ที่มาhttp://www.seal2thai.orgเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
ที่มาhttp://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น