วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"พานทองแท้" เฟซบุ๊กสวน "ศิริโชค"

หมายเหตุ : ช่วงค่ำวันที่ 18 ก.ค. 2555 นายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค บุตรชายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มีเนื้อหาดังนี้ 


ครดูถูกเหยียดหยามพี่น้องประชาชนกันแน่ครับ คุณ "วอลเปเปอร์"

ก่อนอื่นผมต้องขอทักทายแฟนเพจของผมก่อนครับว่า "มีใครเป็นหมอดูหรือเปล่า...!!!!"
เพราะว่าหลายท่าน ทำนายแม่นเหมือนตาเห็นเลยครับว่า หลังจากที่ผมโพสต์ เรื่องที่หัวหน้าพรรคปชป.พูดว่า ขี้ข้าทักษิณ กับโพสต์เรื่อง สลิ่มกะแมลงสาบ จะต้องมีคนของปชป.ออกมาตอบโต้แน่ๆ แฟนเพจบางท่านถึงกับเปรียบเทียบไว้ว่า ต้องมีแมลงสาบออกมาดิ้นพราดๆกันชัวร์

ปรากฏว่าวันนี้มาแล้วครับพี่น้อง คนปชป.ออกมาด่าว่าผมเป็นตุเป็นตะเลย ว่าคุณพ่อผมเป็นนักโทษชายบ้างละ เหยียดหยามคนที่เห็นต่างทางการเมืองบ้างละ เพื่อไม่ให้เป็นการพูดกันคนละครั้ง เดี๋ยวจะจับไม่มั่นคั้นไม่ตายกันอีก โพสต์นี้ผมเลยจะเปรียบเทียบให้เห็นกันจะๆเลยครับ ว่าอภิสิทธิ์ฯ กับ พานทองแท้ ใครที่เหยียดหยามพี่น้องประชาชนที่เห็นต่างกันแน่ ตามที่โปรโมเตอร์ฉายา "วอลเปเปอร์" เขาออกมา "ประกบคู่" ให้ครับ

มุมแดง พานทองแท้ ลูกทักษิณฯ พลเมืองเต็มขั้น ไม่ได้เป็นคนของประชาชนแต่ คุณพ่อมีคนรักและเห็นใจเกินครึ่งประเทศ และที่สำคัญมีแฟนเพจที่รัก และร่วมอุดมการณ์เดียวกันอยู่ประมาณ 8หมื่นกว่าคนที่พร้อมจะให้กำลังใจอยู่ตลอด ได้นิยามความหมายของคำว่าสลิ่มและแมลงสาบ ตามความเข้าใจของคนในโลกไซเบอร์ครับ สลิ่มก็คือสลิ่ม แมลงสาบก็คือแมลงสาบ ถ้าไม่มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้น ก็คงเป็น "สลิ่ม"กะ"แมลงสาบ"อยู่ถึง2575 ครบ100ปี รัฐธรรมนูญ นั่นแหละครับ ไม่ได้ดูถูกใครเลย ใครยังไม่เข้าใจโปรดกลับไปดูอีกครั้ง ในโพสต์เมื่อวันที่ 17ก.ค.55 ตามนี้ครับ

http://on.fb.me/NySN1Q

มุมสีฟ้า ปัจจุบันเป็นผู้นำฝ่ายค้าน เป็นสส.หลายสมัย เป็นหัวหน้าพรรคฯใหญ่ และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เรียกได้เต็มปากว่าเป็นบุคคลสาธารณะและเคยเป็น ผู้บริหารสูงสุดของประเทศไทย ที่ควรจะมี "วุฒิภาวะและวิจารณญานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไป" ได้พูดหลายครั้ง บางครั้งถึงขั้นต้อง"วินิจฉัย"กันเลยครับ ว่าโรคขี้ข้าทักษิณฯกำลังระบาด และได้ยกเว้นพวกตัวเองไว้อย่างสวยหรูว่า "ยืนยันว่า โรคขี้ข้าทักษิณ ไม่ระบาดแถวพรรคประชาธิปัตย์" ดูได้ในโพสต์ของผมเมื่อวันที่ 11ก.ค.55 ครับ

ผมว่าต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองไปนะครับ ผมพูดถึงก็เฉพาะพฤติกรรมของสลิ่มกะแมลงสาบ ไม่ได้เหยียดหยามใครเลย คนที่ทำงานที่บ้านผม พ่อแม่ผมก็สอนให้เรียกว่า แม่บ้านครับ ถึงผมจะไม่ใช่ผู้ดีอังกฤษแต่ ตั้งแต่เกิดมาคำว่า "ขี้ข้า"ไม่เคยหลุดออกจากปากผมครับ ผมว่าคำๆนี้เหยียดหยามกันสุดๆครับ โดยเฉพาะถ้าใช้เรียกคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดูไม่เป็นผู้ดีเลยครับ

ถ้าหัวหน้าพรรคปชป.อยากจะดูถูกเหยียดหยามใครอีกเรียกเขาว่าไพร่ไปเลยดีกว่าครับ เเยกชั้นวรรณะกันไปเลยไม่มีใครว่า อย่างผมท่านเรียก"ไพร่ทองเเท้" ผมก็ไม่โกรธครับ เเบ่งข้างกันไปเลยชัดเจนดี ผมชอบอยู่ข้างเสียงส่วนใหญ่ครับ

อ่อ ถ้าคุณหริโชค อยากให้ผมเฉพาะเจาะจงเรื่องของคุณเอง ทีมงานผมเตรียมไว้เยอะเลยครับ เเต่ผมได้เคยพูดไว้เเล้วเรื่องทฤษฎีด่าเจ้าของหมา เลยไม่อยากพูดถึง เเต่ถ้าอยากได้จริงๆ คอนเฟิร์มมาได้เลยครับ ทีมงานผมพร้อมจัดให้เป็นกรณีพิเศษ "คุณได้สิทธิ์นั้นทันที"ครับ

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ehow

http://www.ehow.com/

eHow คือ เว็บไซต์ประเภท How to มีทั้งบทความและวิดีโอสอน เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป การโฆษณา

วิธีการส่งเสริมให้คนประสบความสำเร็จในโครงการในชีวิตประจำวันของชีวิตโดยการเชื่อมต่อกับผู้เข้าชมที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือคนที่เป็นประโยชน์และเครื่องมือออนไลน์ที่มีประโยชน์
การกว่า 60 ล้านผู้บริโภคที่เดินทางมาถึงที่ประตูของเราค้นหาสำหรับคำแนะนำวิธีการเสนอคำตอบสำหรับคำถามที่มีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของพวกเขามากกว่า 2 ล้านโซลูชั่นวิจัยคิดไว้ในที่ง่ายต่อการอ่านลักษณะโดยนักเขียนมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ชุมชนมีส่วนร่วมเพิ่มความลึกและคำตอบส่วนบุคคลไปยังเอื้ออำนวยความเชื่อมั่นที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ผู้เข้าชมจะประสบความสำเร็จในงานของพวกเขา
โฆษณาเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมต่อกับหนึ่งของโลกผู้ชมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของบุคคลที่มีจิตใจดีไอวายในขณะที่แม่นยำของพวกเขาจากการสอบถาม เกี่ยวกับวิธีการตลาดแบรนด์ที่ผู้บริโภคค้นพบความตั้งใจที่ขับเคลื่อนด้วยการกำหนดเป้​​าหมายได้อย่างง่ายดายและมีเอกลักษณ์ที่เป็นมิตรกับความเชี่ยวชาญและผลิตภัณฑ์ของตน

เรื่อง บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ 2.0

เว็บ 2.0 บนอินเทอร์เน็ต บางมุมมองคิดว่าเป็นมาตรฐานใหม่ และบางมุมมองคิดว่าเป็นซอฟต์แวร์รุ่นใหม่จากไมโครซอฟท์ หรือกูเกิ้ล แต่จริงๆแล้ว เว็บ 2.0 ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ไปกว่าปัจจุบันแต่มันเป็นยุคสมัยที่เปลี่ยนไปต่างหาก ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ เขียนบล็อก แชร์รูป ร่วมเขียน Wiki โพสความเห็นลงในท้ายข่าว หาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และกูเกิ้ล จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตของชาวออนไลน์เริ่มเปลี่ยนไปแล้วพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวสะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี และนี่เป็นที่มาของ เว็บ 2.0 หรือยุคใหม่ของ อินเทอร์เน็ตที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต กำลังเปลี่ยนไปผู้ใช้ไม่ใช่แค่ผู้อ่านเว็บไซต์อีกต่อไป การมีส่วนร่วมต่อการสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์ ความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และธุรกิจออนไลน์ที่สร้างรายได้อย่างจริงจังและยั่งยืนกำลังเริ่มขึ้นในยุคที่เรียกว่า เว็บ 2.0 นี่เอง  

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

www.edtechno.com/site/index.php?option=comแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) รูปแบบหลัก (domain model -DM) 2) รูปแบบผู้เรียน (student model -SM) 3) รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model - AM ) โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบ (Interface) ผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer เป็นต้น ดังรูป

http://www.edtechno.com/images/clip_image001_0013.gif 


http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htmลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ เพื่อการจัดเก็บและเรียกเอาข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนี้ (Yang and More, 1995)
               1.1 แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง

http://www.edtechno.com/images/clip_image002_0010.gif 

               1.2 แบบเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน โดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก

http://www.edtechno.com/images/clip_image004.jpg

               1.3 แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ ที่มีอยู่

http://www.edtechno.com/images/clip_image006.jpg

                การออกแบบโครงสร้างของข้อมูลสารสนเทศที่ดีจะช่วยส่งผลต่อผู้เรียนเพราะข้อมูลที่มีอยู่มากมายนั้นต้องอาศัยการเชื่อมโยงเนื้อหา หรือการจัดระเบียบของเนื้อหาให้กับการสืบค้นภายในบทเรียน การจัดระเบียบที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดประสบการณ์ที่ดีในการเรียนด้วยในขณะเดียวกันโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมก็ย่อมส่งผลเสียต่อผู้ใช้เช่นกัน

http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 สื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็น ระดับความรู้ความสามารถ รูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลอ้างอิงของผู้เรียนต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ ดังนั้นการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจะให้ความสำคัญกับรูปแบบและคุณลักษณะของผู้เรียนที่สอดคล้องกับโครงสร้างหลักที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งทำให้ระบบมีความยืดหยุ่นและตรงตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบสื่อหลายมิติโดยทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดังนั้นในการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ผู้ออกแบบจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบการเรียนรู้รวมทั้งพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในแต่ละคนได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมีความสนใจที่แตกต่างกันสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็น ระดับความรู้ความสามารถ รูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลอ้างอิงของผู้เรียนต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา
สรุป

                 จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) ที่คำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการนำเสนอไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโครงร่าง (Layout) เนื้อหา ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนที่เรียกว่า รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) รวมทั้งการออกแบบและศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียนตามความรู้ ประสบการณ์และรูปแบบการเรียนรู้ ที่เรียกว่ารูปแบบของผู้เรียน (User Model: UM) เพื่อนำไปสู่การออกแบบระบบที่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบหลักและรูปแบบของผู้เรียน ที่เรียกว่า รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) นั่นเอง


ที่มาwww.edtechno.com/site/index.php?option=com เข้าถึงเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2554
ที่มา http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
ที่มาhttp://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htmเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554

สื่อการสอน

http://sayan201.blogspot.com/ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)               
                http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติWilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
               
http://images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
               
                สรุป

ลักษณะการออกแบบที่ดี ( Charecteristics of Good Design )
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจการนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น


ที่มาhttp://sayan201.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2554
ที่มา http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
ที่มาhttp://images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554