วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

(ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน)

http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html ระหว่าง Piaget’s Constructivism (ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง)และ Papert’s onstructionism ห่างไกลจากส่วนของคำที่คล้ายกัน คิดว่ามีความแตกต่างในการบูรณาการสองมุมมองในการเพิ่มความเข้าใจของเราว่าคนเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างไรPiaget’s Constructivism เสนอว่าอะไรที่เด็กสนใจ และสามารถไปสู่ความสำเร็จได้ ที่มีความแตกต่างของระยะในการพัฒนา แต่ Papert’s Constructionism มุ่งสนใจมากในศิลปะของการเรียนรู้ หรือเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการทำสิ่งต่างๆเพื่อเรียนรู้ เขาจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี และบริบทที่เหมาะสมของการพัฒนามนุษย์ให้ผู้เรียสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่างๆด้วยตนเอง โดยการบูรณาการในกระบวนการที่แต่ละบุคคลได้สร้างประสบการณ์ โดยมี ปฏิสัมพันธ์กับโลก
www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.htmlทฤษฎี Constructionism Constructionism เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่งM.I.T. (Massachusette Institute of Technology)ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีคอนสต รัคชั่นนิสซึ่มมีสาระสาคัญที่ว่า ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทาด้วยตนเอง (Learning by doing) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้อีกทฤษฎีหนึ่ง
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 
ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

ที่มา
http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2554
ที่มาwww.budmgt.com/budman/bm01/conslego.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554
ที่มาhttp://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น